พายุ ของ พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562

มกราคม

พายุโซนร้อนปาบึก

เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนห้าลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุโซนร้อนปาบึก[4] กลายเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำลายสถิติเดิมที่พายุไต้ฝุ่นอลิซทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คนในประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม และ ประเทศมาเลเซีย และทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค.ศ. 2019)[5] ต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม พายุโซนร้อนเอเกตแซงได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 คนในประเทศมาดากัสการ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
โมนา28 ธันวาคม—9 มกราคม95 (60)985หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี, ตองงาเล็กน้อยไม่มี
ปาบึก31 ธันวาคม—7 มกราคม85 (50)994หมู่เกาะนาตูนา, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน151 ล้าน10[6][7]
01W (อามัง)4–22 มกราคม55 (35)1004คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์4.11 ล้าน9[8]
11U15—23 มกราคมไม่ได้ระบุ1004เกาะชวาไม่มีไม่มี
เดสมอนด์17—22 มกราคม65 (40)995โมซัมบิก, มาดากัสการ์ไม่ทราบไม่มี
ไรลีย์19—30 มกราคม120 (75)974หมู่เกาะมาลูกู, ติมอร์ตะวันออก, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียไม่มีไม่มี
13U21—25 มกราคม55 (35)999คาบสมุทรเคปยอร์กไม่มีไม่มี
เอเกตแซง22—24 มกราคม75 (45)993มาดากัสการ์ไม่ทราบ27

กุมภาพันธ์

พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ

เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงสิบลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนเจ็ดลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ[9] ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
ฟูนานี3–10 กุมภาพันธ์195 (120)940รอดริเกซไม่มีไม่มี
06F3–9 กุมภาพันธ์65 (40)994วาลิสและฟูตูนา, หมู่เกาะซามัวNoneNone
เจเลนา4–14 กุมภาพันธ์205 (125)942มาดากัสการ์, มอริเชียส, รอดริเกซ1.02 ล้านไม่มี
โอมา7–22 กุมภาพันธ์130 (80)974วานูอาตู, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์51 ล้าน1
เนอีล8–10 กุมภาพันธ์65 (40)994วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงาไม่มีไม่มี
08F10–13 กุมภาพันธ์ไม่ได้ระบุ996ฟีจี, ตองงาไม่มีไม่มี
10F11–13 กุมภาพันธ์ไม่ได้ระบุ996วาลิสและฟูตูนา, ฟีจีไม่มีไม่มี
หวู่ติบ (เบตตี)18 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม195 (120)920หมู่เกาะแคโรไลน์, กวม3.3 ล้านไม่มี
โปลา23 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม165 (105)950วาลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงาไม่มีไม่มี
ฮาเลฮ์28 กุมภาพันธ์–7 มีนาคม175 (110)945ไม่มีไม่มีไม่มี

มีนาคม

พายุไซโคลนอิดาอี

มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในเดือนมีนาคมจำนวนสิบลูก ในจำนวนนี้หกลูกได้รับชื่อ ซึ่งไซโคลนอิดาอีเป็นพายุที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตในทวีปอเมริกาใต้ถึง 1,007 คน[10] ส่วนพายุโซนร้อนอีบากลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้นับตั้งแต่พายุแอนีตาใน พ.ศ. 2553

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
อิดาอี4–16 มีนาคม195 (120)940โมซัมบิก, มาลาวี, มาดากัสการ์, ซิมบับเว≥2 พันล้าน1,297[11][12]
15U6–11 มีนาคมไม่ได้ระบุ1007หมู่เกาะมาลูกูไม่มีไม่มี
ซะแวนนาห์7–20 มีนาคม175 (110)951เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)>7.5 ล้าน10
TL13–14 มีนาคมไม่ได้ระบุไม่ได้ระบุไม่มีไม่มีไม่มี
03W (เชเดง)14–19 มีนาคมไม่ได้ระบุ1006ปาเลา, ฟิลิปปินส์23,000ไม่มี
เทรเวอร์15–26 มีนาคม175 (110)955ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี71,000ไม่มี1
วิรอนิกา18–31 มีนาคม195 (125)938ติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย1.2 พันล้านไม่มี[13]
จัวนินฮา18–30 มีนาคม185 (115)939รอดริเกซไม่มีไม่มี
อีบา23–28 มีนาคม85 (55)1006บราซิลไม่มีไม่มี
TL31 มีนาคม–3 เมษายนไม่ได้ระบุ1005ภาคตะวันออกเฉียงใต้ปาปัวนิวกินีไม่มีไม่มี

เมษายน

พายุไซโคลนฟานี

มีพายุหมุนเขตร้อนหกลูกก่อตัวขึ้นในเดือนเมษายน และสี่ลูกได้รับชื่อ ในเดือนนี้ เคนเนท ได้กลายเป็นพายุไซโคลนรุนแรงที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก[14] โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 48 คน ซึ่งในจำนวนนั้น 41 คนเสียชีวิตในประเทศโมซัมบิก[15] ส่วน ฟานี ได้พัดเข้าบางส่วนของประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 72 คนในรัฐโอฑิศา[16] 17 คนในประเทศบังกลาเทศ[17] และ 8 คนในรัฐอุตตรประเทศ โดยนับเป็นพายุที่สร้างความเสียหายไว้มากที่สุดในปีนี้ (นับถึงปัจจุบัน) ที่ 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[18]

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
วอลลิซ1–16 เมษายน120 (75)980นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, หมู่เกาะมาลูกู, เกาะติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียไม่มีไม่มี
22U5–15 เมษายนไม่ได้ระบุ1006เกาะนิวกินี, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรีไม่มีไม่มี
เคนเนท21–29 เมษายน215 (130)934เซเชลส์, มาดากัสการ์, หมู่เกาะโคโมโร, โมซัมบิก, แทนซาเนีย, มาลาวี>100 ล้าน50[15]
โลร์นา21 เมษายน–1 พฤษภาคม110 (70)978ไม่มีไม่มีไม่มี
TL21–25 เมษายนไม่ได้ระบุ1003เกาะสุมาตรา, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง)ไม่มีไม่มี
ฟานี26 เมษายน–4 พฤษภาคม215 (130)937ศรีลังกา, รัฐอานธรประเทศ, ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน1.81 พันล้าน[19][20]89[16][17][18]

พฤษภาคม

พายุไซโคลนลีลี

เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนสี่ลูกที่ได้รับชื่อ พายุไซโคลนลีลีก่อนตัวชึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งออสเตรเลีย นับเป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลีย และพัดเข้าติมอร์ตะวันออก และหมู่เกาะมาลูกูของประเทศอินโดนีเซีย ปริมาณน้ำฝนทำให้เกิดอุทกภัย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นที่และทรัพย์สินประชาชนเล็กน้อย พายุไซโคลนแอนน์ เป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลียอีกลูก พัฒนาขึ้นเป็นพายุในระดับพายุโซนร้อนที่มีความรุนแรงตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพัดขึ้นฝั่งในฟาร์นอร์ทควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยพายุแอนน์นับเป็นพายุหมุนแถบออสเตรเลียที่ก่อตัวในเดือนพฤษภาคมที่มีความรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่พายุรอนดาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และได้ชื่อว่า ฌากัวร์ ทำให้พายุฌากัวร์เป็นพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ลูกที่สองของปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสองลูกในปีเดียวกันของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และตามด้วยการก่อตัวของพายุกึ่งโซนร้อนอายุสั้นชื่อ แอนเดรีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์มิวดาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทำให้ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกเริ่มต้นขึ้นก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เป็นปีที่ห้าติดต่อกันแล้ว

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
ลีลี4–11 พฤษภาคม75 (45)997ภาคตะวันออกของอินโดนีเชีย, ติมอร์ตะวันออก, ท็อปเอ็นด์, คิมเบร์ลีปานกลางไม่มี
TD7–8 พฤษภาคมไม่ได้ระบุ1006แยป, ปาเลาไม่มีไม่มี
TD7–15 พฤษภาคมไม่ได้ระบุ1004หมู่เกาะแคโรไลน์ไม่มีไม่มี
แอนน์7–18 พฤษภาคม95 (60)993หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย, รัฐควีนส์แลนด์, ท็อปเอ็นด์ไม่มีไม่มี
TD10–11 พฤษภาคมไม่ได้ระบุ1006แยป, ปาเลาไม่มีไม่มี
12F16–21 พฤษภาคม55 (35)1002ไม่มีไม่มีไม่มี
ฌากัวร์20–22 พฤษภาคม65 (40)1010บราซิลไม่มีไม่มี
แอนเดรีย20–21 พฤษภาคม65 (40)1006เบอร์มิวดาไม่มีไม่มี

มิถุนายน

พายุไซโคลนวายุ

วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันเริ่มต้นฤดูอย่างเป็นทางการของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก แม้ว่าพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกปีนี้ (พายุแอนเดรีย) จะก่อตัวไปตั้งแต่ก่อนฤดูกาลเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมก็ตาม หลังจากที่เว้นช่วงไปอย่างยาวนานที่สุดของปี ในที่สุด ระบบพายุแรกในทะเลอาหรับของฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 ก็ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และได้ชื่อว่า วายุ มีกำลังเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ต่อมาในช่วงปลายเดือน พายุเฮอริเคนแอลวินก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิกนี้ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุโซนร้อนชื่อ เซอปัต ซึ่งนับเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกในรอบสี่เดือนนับแต่พายุหวู่ติบในเดือนกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
วายุ10—19 มิถุนายน150 (90)978ภาคเหนือของมัลดีฟส์, ลักษทวีป, อินเดียตะวันตก, ปากีสถานตะวันออกเฉียงใต้>140,0008
เซอปัต17—28 มิถุนายน75 (45)992หมู่เกาะแคโรไลน์, ญี่ปุ่นไม่มีไม่มี
TD26 มิถุนายน55 (35)1000หมู่เกาะรีวกีว, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่นไม่มีไม่มี
แอลวิน25—29 มิถุนายน120 (75)992เกาะกลาริยงไม่มีไม่มี
04W26 มิถุนายน—1 กรกฎาคม55 (35)1006หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลาไม่มีไม่มี
บาร์บารา30 มิถุนายน—6 กรกฎาคม250 (155)933ไม่มีไม่มีไม่มี

กรกฎาคม

พายุเฮอริเคนเอริก

เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างมากในปีนี้ โดยมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสิบสามลูก ในจำนวนนั้นสิบลูกมีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อน ในบรรดาพายุเหล่านี้ พายุโซนร้อนมูน ได้พัดขึ้นฝั่งทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม และพายุเฮอริเคนแบร์รี ได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งมิดเวสเทิร์นของสหรัฐและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในฐานะพายุโซนร้อน สร้างความเสียหาย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตทางอ้อมจากพายุจำนวน 1 คน

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
มูน1—4 กรกฎาคม65 (40)992เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, หมู่เกาะพาราเซล, เวียดนาม, ลาว240,0002
คอสมี6—8 กรกฎาคม85 (50)1001ไม่มีไม่มีไม่มี
แบร์รี11—15 กรกฎาคม120 (75)991มิดเวสเทิร์นของสหรัฐ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, ชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ, รัฐอาร์คันซอ, รัฐโอคลาโฮมา, ภูมิภาคเกรตเลกส์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ≥500 ล้าน1
สี่-อี12—14 กรกฎาคม55 (35)1006ไม่มีไม่มีไม่มี
ดานัส12—21 กรกฎาคม85 (50)985แยป, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, ภาคตะวันออกของจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, ภาคเหนือของจีน, รัสเซียตะวันออกไกล, หมู่เกาะคูริล302,0004
TD17—19 กรกฎาคม55 (35)996ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีวไม่มีไม่มี
เดลิลา22—25 กรกฎาคม65 (40)1005ปานามา, คอสตาริกา, นิการาก้วไม่มีไม่มี
สาม22—23 กรกฎาคม50 (30)1013บาฮามาสไม่มีไม่มี
0122—24 กรกฎาคม45 (30)1001ไม่มีไม่มีไม่มี
นารี24—27 กรกฎาคม65 (40)998หมู่เกาะโบนิน, ญี่ปุ่นไม่มีไม่มี
เอริก27 กรกฎาคม—ปัจจุบัน215 (130)952รัฐฮาวายไม่มีไม่มี
ฟลอสซี28 กรกฎาคม—ปัจจุบัน130 (80)990ไม่มีไม่มีไม่มี
วิภา30 กรกฎาคม—3 สิงหาคม55 (35)992หมู่เกาะพาราเซล, เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาวไม่มีไม่มี

สิงหาคม

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุช่วงที่พายุมีกำลังลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิตอ้างอิง
ฟรานซิสโก1 สิงหาคม—ปัจจุบัน95 (60)992ไม่มีไม่มีไม่มี
เลกีมา1 สิงหาคม—ปัจจุบัน65 (40)996ไม่มีไม่มีไม่มี
กิล3 สิงหาคม—ปัจจุบัน65 (40)1006ไม่มีไม่มีไม่มี